6 ก.ย. 2554

วิชาพัฒนาทักษะชีวิต1-02

ตอนนี้เป็นเรื่องอวัยวะที่สำคัญอีกส่วนที่เราเรียกว่า สมอง

สมอง (Brain)
สมอง คือ อวัยวะสำคัญในสัตว์หลายชนิดตามลักษณะทางกายวิภาค
หรือที่เรียกว่า encephalon จัดว่าเป็นส่วนกลางของระบบประสาท คำว่า
สมอง นั้นส่วนใหญ่จะเรียกระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์มีกระดูกสันหลัง
คำนี้บางทีก็ใช้เรียกอวัยวะในระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอีกด้วย


สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และ
รักษาสมดุลภายในร่างกาย (homeostasis) เช่น การเต้นของหัวใจ,
ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น
หน้าที่ของสมองยังมีเกี่ยวข้องกับการรู้ (cognition) อารมณ์ ความจำ
การเรียนรู้การเคลื่อนไหว (motor learning) และความสามารถอื่นๆ
ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้

สมองประกอบด้วยเซลล์สองชนิด คือ เซลล์ประสาท และเซลล์เกลีย
เกลียมีหน้าที่ในการดูแลและปกป้องนิวรอน นิวรอนหรือเซลล์ประสาท
เป็นเซลล์หลักที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าที่
เรียกว่า ศักยงาน (action potential) การติดต่อระหว่างนิวรอนนั้น
เกิดขึ้นได้โดยการหลั่งของสารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่า
สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ข้ามบริเวณระหว่างนิวรอนสองตัว
ที่เรียกว่า ไซแนปส์ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลงต่าง ๆ ก็มี
นิวรอนอยู่นับล้านในสมอง สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่มักจะมี
นิวรอนมากกว่าหนึ่งร้อยล้านตัวในสมอง สมองของมนุษย์นั้นมี
ความพิเศษกว่าสัตว์ตรงที่ว่ามีความซับซ้อนและใหญ่กว่าเมื่อเทียบ
กับขนาดตัวของมนุษย์


ส่วนประกอบสมองของมนุษย์ แบ่งได้เป็น 3 ส่วนดังนี้
1) สมองส่วนหน้า (Forebrain) มีขนาดใหญ่ที่สุด มีรอยหยัก
   เป็นจำนวนมาก สามารถแบ่งออกได้อีกดังนี้
   1.1)  ออลเฟกทอรีบัลบ์ (olfactory bulb) อยู่ด้านหน้าสุด
ทำหน้าที่ - ดมกลิ่น (ในสัตว์สมองส่วนนี้จะมีขนาดใหญ่) ใน
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมออลแฟกทอรีบัลบ์จะไม่เจริญ แต่จะ
ดมกลิ่นได้ดีโดยอาศัยเยื่อบุในโพรงจมูก
   1.2) ซีรีบรัม (Cerebrum) - มีขนาดใหญ่สุด มีรอยหยักเป็น
จำนวนมาก ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ ความสามารถต่างๆ
เป็นศูนย์การทำงานของกล้ามเนื้อ การพูด การมองเห็น การดมกลิ่น
การชิมรส แบ่งเป็นสองซีก แต่ละซีกเรียกว่า Cerebral hemisphere
และแต่ละซีกจะแบ่งได้เป็น 4 พูดังนี้
   1. Frontal lobe ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว การออกเสียง
       ความคิด ความจำ สติปัญญา บุคลิก ความรู้สึก พื้นอารมณ์
   2. Temporal lobe ทำหน้าที่ควบคุมการได้ยิน การดมกลิ่น
   3. Occipital lobe ทำหน้าที่ควบคุมการมองเห็น
   4. Parietal lobe ทำหน้าที่ควมคุมความรู้สึกด้านการสัมผัส
       การพูด การรับรส
   1.3 ทาลามัส (Thalamus) - อยู่เหนือไฮโปทาลามัส ทำหน้าที่เป็น
สถานีถ่ายทอดกระแสประสาทเพื่อส่งไปจุดต่างๆในสมอง รับรู้และ
ตอบสนองความรู้สึกเจ็บปวด ทำให้มีการสั่งการแสดงออกพฤติกรรม
ด้านความเจ็บปวด
   1.4 ไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) - ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของ
ระบบประสาทอัตโนมัติ และสร้างฮอร์โมนเพื่อควบคุมการผลิตฮอร์โมน
จากต่อมใต้สมองซึ่งจะทำการควบคุมสมดุลของปริมาณน้ำและ
สารละลายในเลือด และยังเกี่ยวกับการควบคุมอุณหภูมิร่างกาย
อารมณ์ความรู้สึก วงจรการตื่นและการหลับ การหิว การอิ่ม
และความรู้สึกทางเพศ

2. สมองส่วนกลาง (Midbrain) เป็นสมองที่ต่อจากสมองส่วนหน้า
เป็นสถานีรับส่งประสาท ระหว่างสมองส่วนหน้ากับส่วนท้ายและ
ส่วนหน้ากับนัยน์ตาทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของลูกตา
และม่านตาจะเจริญดีในสัตว์พวกปลา กบ ฯลฯ ในมนุษย์สมอง
ส่วน obtic lobe นี้จะเจริญไปเป็น Corpora quadrigermia
ทำหน้าที่เกี่ยวกับการได้ยิน

3. สมองส่วนท้าย (Hindbrain) ประกอบด้วย
    3.1 พอนส์ (Pons) อยู่ด้านหน้าของซีรีเบลลัม ติดกับสมองส่วนกลาง
ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานบางอย่างของร่างกาย เช่น การเคี้ยวอาหาร
การหลั่งน้ำลาย การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า การหายใจ
การฟัง

   3.2 เมดัลลา (Medulla) เป็นสมองส่วนท้ายสุด ต่อกับไขสันหลัง
เป็นทางผ่านของกระแสประสาทระหว่างสมองกับไขสันหลัง เป็น
ศูนย์กลางการควบคุมการทำงานเหนืออำนาจจิตใจ เช่น ไอ จาม
สะอึก หายใจ การเต้นของหัวใจ เป็นต้น

   3.3 ซีรีเบลลัม (Cerebellum) อยู่ใต้เซรีบรัม ควบคุมระบบกล้ามเนื้อ
ให้สัมพันธ์กันและควบคุมการทรงตัวของร่างกาย

สมองเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย หากสมองได้รับการดูแล
ที่ดีย่อมเป็นผลดีต่อสุขภาพของคนๆนั้น
สารอาหารบำรุงสมอง ได้แก่

โอเมก้า-3 (Omega-3) มีอยู่ในปลาทะเลน้ำลึก เป็นไขมันที่ไม่อิ่มตัว
พบได้ในปลาแซลมอน ปลาทูน่า ฯลฯ ที่ถูกเรียกรวมๆ ว่า โอเมก้า-3
มีฤทธิ์ต่อจิตใจ ทำให้สมองกระฉับกระเฉงและมีสมาธิดีขึ้น
ช่วยกระตุ้นให้เซลล์สมองมีความไวต่อการรับสัญญาณประสาท
เมื่อทานเข้าไปแล้วจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดและถูกส่งต่อไป
ยังตับและสมองเพื่อสร้างเซลล์ประสาททำให้การทำงานของสมองดีขึ้น

โคลีน พบได้ใน ข้าวกล้อง ข้าวโพด ผักใบเขียวต่างๆ โดยโคลีน
จะมีมากในส่วนที่เป็นจมูกข้าวโพด ดังนั้นการนำข้าวโพดมาทำอาหาร
เพื่อให้ได้สารอาหารโคลีนจึงต้องใช้มีดคมฝานให้ลึกถึงซังข้าวโพด
อาการที่ร่างกายขาดโคลีนคือ ปัญหาทางด้านความจำ หลงลืม
เศร้าหมอง ขาดสมาธิและจิตใจหดหู่

แมงกานีส เป็นเกลือแร่ช่วยควบคุมดูแลสุขภาพของสมองและ
ระบบประสาท อาหารบำรุงสมองที่มีแมงกานีสมากได้แก่
อาหารทะเล ตับหมู ผักใบเขียวเข้ม แอปเปิ้ล มะม่วง เป็นต้น

วิตามินบี เป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นในการทำงานของระบบประสาท
และสมอง มีหลายชนิดเช่น
   1) วิตามินบี 1 (B1) ช่วยสร้างเซลล์ประสาทให้แข็งแรง พบมากใน
เมล็ดธัญพืชหรืออาหารที่ปรุงจากเมล็ดข้าวเช่น ขนมปัง พาสต้า ฯลฯ
   2) วิตามินบี 5 (B5) ช่วยในการสร้างโคเอ็นไซม์ที่ใช้ถ่ายทอดสัญญาณประสาท
พบมากในพืชที่เป็นฝักเช่น กระถิน ถั่ว ฯลฯ
   3) วิตามินบี 6 (B6) เป็นสารอาหารที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์และ
ความนึกคิดของคน พบได้ใน เครื่องในสัตว์ ปลาและเมล็ดถั่วที่เป็นฝัก
   4)  วิตามินบี 12 (B12) เป็นสารอาหารที่ช่วยสร้างความสมบูรณ์ให้เซลล์เม็ด
เลือดแดง บำรุงรักษาเนื้อเยื่อประสาท พบมากในไข่ นม ปลา และ
ผลิตภัณฑ์จากนมต่าง ๆ

กรดโฟลิค เป็นสารอาหารที่จำเป็นสำหรับผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ พบมากใน
กล้วย ส้ม มะนาว ผักใบเขียว ถั่วเหลืองและธัญพืชต่างๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้อง
กับการทำงานของสมองกรดโฟลิคเป็นสารอาหารสำคัญต่อระบบ
การเผาผลาญกรดไขมันโมเลกุลยาวในสมอง

แมกนีเซียม โปแตสเซียมและแคลเซียม เป็นสารอาหารที่มีผลต่อ
การทำงานของระบบประสาท พบมากในผักใบเขียวเข้ม ผลไม้และ
ธัญพืชต่างๆ
    นอกจากนี้การกินผักและผลไม้จะทำให้ร่างกายได้รับสารต้านอนุมูลอิสระ
(Antioxidant) ที่มีประโยชน์ในเรื่องชะลอการเสื่อมของสมองที่อายุมากขึ้น
และช่วยป้องกันไม่ให้สมองถูกทำลายจากอนุมูลอิสระ

วิธีการดูแลสมอง1. ทานอาหารที่สารที่ช่วยในการบำรุงสมอง ดังกล่าวข้างต้น
2. การมีพฤติกรรมการบริโภคที่ดีได้แก่ การไม่งดอาหารเช้า
    รับประทานอาหารให้ตรงเวลา หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
4. ฝึกการใช้สมอง(ความคิด)ด้วยกิจกรรมฝึกสมอง และคิดถึงต่างๆในแง่ที่ดี
    หรือ ที่เราเรียกว่า คิดในทางบาง

** เรื่องของร่างกายของเรายังไม่จบ โปรดติดตามในตอนหน้า**

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น