18 ส.ค. 2554

ศาสนาและหน้าที่พลเมือง-01

ตอนนี้มาดูเรื่องเกี่ยวกับพุทธศาสนาและหน้าที่พลเมือง ในรูปแบบ
ของคำถาม-คำถาม เพื่อจะทำให้พวกคุณจำได้ง่ายขึ้นบ้าง
เล่นกันแบบเกม 20 คำถามก็แล้วกัน.... เริ่ม...

1. พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันมีพระนามเดิมว่าอะไร

    พระนามเดิมว่า สิทธัตถะ" หมายถึง ผู้ที่สำเร็จความมุ่งหมายแล้ว
    หรือผู้ปรารถนาสิ่งใด ย่อมได้สิ่งนั้น
2. เจ้าชายสิทธัตถะทรงเป็นพระราชโอรสของใคร
     ทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ กษัตริย์ผู้ครอง
     กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ และ "พระนางสิริมหามายา"
     พระราชธิดาของกษัตริย์ราชสกุลโกลิยวงศ์แห่งกรุงเทวทหะ
     แคว้นโกลิยะ
3. เจ้าชายสิทธัตถะประสูตรที่ใด
    เจ้าชายสิทธัตถะประสูตรที่ใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน
    ณ เขตแดนรอยต่อระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ของฝ่ายพระราชบิดา
    กับกรุงเทวทหะของฝ่ายพระราชมารดา เมื่อวันศุกร์ ขึ้นสิบห้าค่ำ
    เดือนวิสาขะ ปีจอ 80 ปีก่อนพุทธศักราช (ปัจจุบันในประเทศเนปาล)
4. หลังจากเจ้าชายสิทธัตถะมีประสูติกาลแล้ว 7 วันเกิดเหตุการณ์ใด
    พระนางสิริมหามายาก็เสด็จสวรรคาลัย(เสียชีวิต) เจ้าชายสิทธัตถะ
    จึงอยู่ในความดูแลของพระนางประชาบดีโคตมี ซึ่งเป็นพระกนิษฐา
    (น้องสาว)ของพระนางสิริมหามายา

5. ใครที่ทำนายว่าเจ้าชายสิทธัตถะจะออกบวชอย่างแน่นอน
    พราหมณ์ชื่อ โกณฑัญญะ ทำนายว่า พระราชกุมารสิทธัตถะ
   จะเสด็จออกบวช และจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน

6. เมื่อเจริญวัยขึ้นมาเจ้าชายสิทธัตถะ ทรงพระอักษร(เรียนหนังสือ)ที่ใด
    เจ้าชายสิทธัตถะทรงศึกษาเล่าเรียนในสำนักครูวิศวามิตร
7. เจ้าชายสิทธัตถะได้เล่าเรียนวิชาใดบ้าง
    สิ่งที่เจ้าชายสิทธัตถะได้เรียนมี 2 ใหญ่คือ
   1. พระเวท เป็นคัมภีร์ของศาสตนาพราหมณ์ มี 3 อย่าง
       เรียกว่า ไตรเพท ภายหลังเพิ่มอีก 1 เป็น 4 เวท ประกอบด้วย
       1.1 ฤคเวท ในคัมภีร์พระเวท กล่าวถึงเรื่อง ว่าด้วยการสร้างโลก
             และบทสวดสรรเสริญเทพเจ้าทั้งหลาย
       1.2 สามเวท ในคัมภีร์พระเวท กล่าวถึงเรื่อง ว่าด้วยการสรรเสริญ
             เทพเจ้าและพิธีกรรม
       1.3 ยชุรเวท ในคัมภีร์พระเวท กล่าวถึงเรื่อง ว่าด้วยการบูชายัญ
       1.4 อถรรพเวท ในคัมภีร์พระเวท กล่าวถึงเรื่อง ว่าด้วยการทำพิธี
             ป้องกันอันตรายต่าง ๆ
  2. ศิลปะศาสตร์ 18 ประการ (วิชาที่พระราชาต้องเรียน) ประกอบด้วย
       1. อักษรศาสตร์ เกี่ยวกับ วิชาหนังสือตำราวิชาการและประวัติศาสตร์ที่จารึกไว้
       2. นิติศาสตร์ เกี่ยวกับวิชากฎหมายและจารีตประเพณีต่าง ๆ
       3. ฉันทศาสตร์ เกี่ยวกับการแต่งหนังสือทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง
       4. นิรุกติศาสตร์ เกี่ยวกับวิชารากศัพท์ที่มาของที่มาของภาษา
       5. รัฐศาสตร์ เกี่ยวกับ วิชาการปกครอง ทำให้ราษฎรมี
           ความจงรักภัคดีและมีความสุข
       6. ยุทธศาสตร์ เกี่ยวกับ การใช้อาวุธต่างๆในการรบ
       7. ศาสนศาสตร์ เกี่ยวกับวิชาศาสนาและรู้คำสอนใน
       8. โหราศาสตร์ เกี่ยวกับการพยากรณ์เหตุการต่างๆ 
       9. โชยติศาสตร์ กี่ยวกับการดูดวงดาวต่างๆ ให้รู้ว่าดวงดาวนั้น
            อยู่ทางทิศไหน รู้จักสีแสงของดวงดาวอันจะบอกลางดีลางร้าย
      10. คณิตศาสตร์ เกี่ยวกับวิชาคำณวน 
      11. คันธัพพศาสตร์ เกี่ยวกับการร้องรำ การดนตรี
      12. เหตุศาสตร์ เกี่ยวกับ วิชารู้เหตุว่าจะเกิดผลดีหรือร้าย.
      13. เวชศาสตร์ เกี่ยวกับการรู้จักสมุนไพรและวิธีปรุงยาแก้โรค
      14. สัตวศาสตร์ เกี่ยวกับการรู้ลักษณะของสัตว์และ
            เสียงของสัตว์ว่าร้ายหรือดี
      15. วาณิชยศาสตร์ เกี่ยวกับการค้าขายให้รู้จักชนิดของสินค้า
             วิธีและเส้นทางการค้า
      16. ภูมิศาสตร์ เกี่ยวกับ วิชาพื้นที่ ให้รู้จักแผนที่ของประเทศต่าง ๆ
      17. โยคศาสตร์ เกี่ยวกับช่างกล รู้จักกลไกของยานพาหนะ
              และเครื่องมือต่าง ๆ
      18. มายาศาสตร์ เกี่ยวกับวิชารู้กลอุบายหรือรู้ตำรับพิชัยสงคราม

8. พระบิดาทำอย่างไรเพื่อไม่ให้เจ้าชายสิทธัตถะคิดออกบวช
    พระบิดาพยายามทำให้เจ้าชายสิทธัตถะพบเห็นแต่ความสุข
    โดยการสร้างปราสาท 3 ฤดู ให้อยู่ประทับ มีการขับกล่อมด้วย
    ดนตรีและนางรำ โดยมิให้เอาออกนอกพระราชวัง และจัดเตรียม
    การราชาภิเษกให้เจ้าชายขึ้นครองราชย์

9. เมื่อมีพระชนมายุ 16 พรรษา เจ้าชายสิทธัตถะทรงอภิเษกสมรสกับใคร
    พระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางพิมพา หรือยโสธรา
    พระธิดาของพระเจ้ากรุงเทวทหะซึ่งเป็นพระญาติฝ่ายพระมารดา
10. เจ้าชายสิทธัตถะได้พระราชาโอรสเมื่อใด
      เมื่อมีพระชนมายุ 29 พรรษา พระนางพิมพาได้ให้ประสูติ
      พระราชโอรส มีพระนามว่า "ราหุล" ซึ่งหมายถึง "บ่วง"
11. เทวทูต 4 ได้แก่ ใครบ้าง
      คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช
12. เหตุใดที่เจ้าชายสิทธัตถะ ตัดสินใจออกบวช
      หลังจากที่พระองค์ได้เห็น เทวทูต 4 ทรงเห็นความทุกข์ของโลก
      และต้องการจะหาวิถีทางที่จะพ้นจากความทุกข์ คือต้องออกบวช
      เป็นสมณะและทรงหนีออกจากพระราชวัง เพื่อออกบวช
      ในขณะที่มีพระชนม์ 29 พรรษา
13. คืนที่เจ้าชายสิทธัตถะหนีออกจากพระราชวัง พระองค์ไปกับใคร
     พระองค์เสด็จไปพร้อมกับ สารถี และม้าพระที่นั่ง นามว่ากัณฑกะ

14. พระองค์ทรงไปที่ใด
      ทรงมุ่งตรงไปยังแม่น้ำอโนมานที ก่อนจะประทับนั่งบนกองทราย
      ทรงตัดพระเมาลี(มวยผม)ด้วยพระขรรค์(มีด 2 คม) และเปลี่ยน
      ชุดผ้ากาสาวพัตร์ (ผ้าย้อมด้วยรสฝาดแห่งต้นไม้)
15. หลังจากที่ออกบวชแล้วพระองค์เสร็จไปที่ใด ด้วยเหตุใด
      แม่น้ำคยา แคว้นมคธ ขอเข้าเรียนที่สำนักอาฬารดาบส กาลามโครตร
      และอุทกดาบส รามบุตร แต่เมื่อเรียนจบทั้ง 2 สำนักแล้วทรงเห็นว่า
      นี่ยังไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ จึงออกเดินทางต่อไป
16. พระองค์ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาที่ใด ด้วยวิธีการใด
      พระองค์ได้เสด็จไปที่แม่น้ำเนรัญชรา ในตำบลอุรุเวลาเสนานิคม
      และทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา ด้วยการขบฟันด้วยฟัน กลั้นหายใจ
      และอดอาหาร จนร่างกายซูบผอม อยู่ 6 ปี ทรงเห็นว่าไม่ใช่
      ทางพ้นทุกข์ จึงทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา
17. ขณะที่ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา พระองค์อยู่กับใคร
      ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้แก่ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยา มหานามะ อัสสชิ
18. พระองค์มีทรงใช้วิธีการใด หลังจากเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา
      พระองค์ใช้วิธีทางสายกลางคือไม่ตึงเกินไป และไม่หย่อน
      ที่จะนำสู่การพ้นทุกข์ เหมือนกับการดีดพิณถ้าขึงสายตึงเกินไป
      สายก็จะขาด ถ้าหย่อนเกินไป ก็จะขาดความไพเราะ
      แต่ถ้าดีดพิณสายที่ขึงไว้พอดี จึงมีเสียงไพเราะที่สุด
19. เจ้าชายสิทธัตถะทรงตรัสรู้ที่ใด

      ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ณ อุรุเวลาเสนานิคม เมืองพาราณสี
20. ก่อนที่จะตรัสรู้นั้น พระองค์ทรงบรรลุรูปฌาณ อะไรบ้าง
      ยามต้น หรือปฐมยาม ทรงบรรลุปุพเพนิวาสานุสติญาณ
      คือ สามารถระลึกชาติได้
      ยามสอง ทางบรรลุจุตูปปาตญาณ (ทิพยจักษุญาณ) คือ
      รู้เรื่องการเกิดการตายของสัตว์ทั้งหลายว่าเป็นไปตามกรรมที่กำหนดไว้
      ยามสาม ทรงบรรลุอาสวักขยญาณ คือ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะหรือ
     กิเลส ด้วยอริยสัจ 4 ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค และได้ตรัสรู้
     ด้วยพระองค์เองเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นศาสดาเอกของโลก
     ซึ่งวันที่ตรัสรู้ ตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ขณะที่มีพระชนม์ 35 พรรษา

ชอบกันหรือเปล่า ถ้าชอบจะทำต่อ  ไม่ชอบจะหยุด

2 ความคิดเห็น: